วันพฤหัสบดีที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 12 
วันอังคารที่ 11 พฤศจิกายน 2557 
      
       การเรียนการสอนวันนี้ไม่เครียดนะค่ะ สบายๆ นักศึกษาเเละอาจารย์พูดคุยกันอย่างสนุกสนานก่อนเริ่มบทเรียนถือว่าเป็นการคลายเครียดก่อนเรียนค่ะ สำหรับวันนี้เรียนเรื่อง การส่งเสริมพัฒนาการเเละการปรับพฤติกรรมเด็กปฐมวัยที่มีความต้องการพิเศษ
ประเมินตนเอง
-ตั้งใจเรียน เเอบหลับบ้างนิดหน่อย เเต่ก็ตั้งใจฟังอาจารย์อธิบายเนื้อหาที่เรียน เเละสามารถนำมาสรุปลงเป็นมายเเม็บได้ เเต่งกายเรียบร้อยดีค่ะ เข้าเรียนตรงต่อเวลา

ประเมินเพื่อนๆ
-เพื่อนๆโดยรวมตั้งใจเรียนดี อาจจะพุดคุยระหว่างอาจารย์สอนบ้างเเต่เมื่ออาจารย์เตือนก็ยังมรความเกรงใจอาจารย์ผู้สอนอยู่ ซึ่งถือว่ามีความเกรงใจเเละให้เกียรติอาจารย์ เพื่อนๆบางคนก็มีส่วนร่วมในการเเสดงความคิดเห็นในเนื้อหาที่อาจารย์อธิบาย

ประเมินอาจารย์ผู้สอน
-อาจารย์มีความตั้งใจสอนในเนื้อหา เเละก็น่าสงสารอาจารย์ในเรื่องของเนื้อหาที่จะนำมาให้นักศึกษาประกอบการเรียนเนื่องจากทางคณะขาดเเคลนเเละไม่เอื้อต่อการถ่ายเอกสารเพื่อที่จะนำมาให้นักศึกษาได้ส่วนนี้ก็เห็นใจครูผู้สอน เพื่อนๆนักศึกษาเเละตัวดิฉันเองด้วยค่ะ 

**เพิ่่มเติม
แนวทางส่งเสริมการเล่นในเด็กออทิสติก
ศูนย์วิชาการ แฮปปี้โฮม
  
 นพ.ทวีศักดิ์ สิริรัตน์เรขา
 จิตแพทย์เด็กและวัยรุ่น
   
สิ่งสำคัญอย่างหนึ่งที่ช่วยส่งเสริมพัฒนาการเด็กออทิสติกได้เป็นอย่างดี คือ การส่งเสริมการเล่นให้เหมาะสมตามวัย ช่วยให้เด็กสามารถพัฒนาการเล่นจากขั้นที่หยุดชะงักได้
เริ่มต้นด้วยการสร้างโอกาส ในการเล่นที่หลากหลาย ให้เด็กได้มีโอกาสเล่นของเล่นที่หลากหลาย หรือของเล่นเดิมในวิธีการเล่นที่แตกต่างจากเดิม โอกาสในการเล่นกับเด็กวัยเดียวกัน และเพื่อนเล่นที่หลากหลาย
ในการเล่นกับเด็ก ต้องจำไว้เสมอว่า เรากำลังร่วมเล่นกับเขา เล่นไปด้วยกัน แนะนำได้ แต่ไม่ใช่เราไปสอนเขาเล่นอย่างที่เราต้องการเสมอไป ควรใช้การสัมผัสและน้ำเสียงที่นุ่มนวลร่วมด้วย
โดยให้เด็กเล่นสิ่งของที่เขากำลังสนใจอยู่ในขณะนั้น เริ่มแนะนำวิธีการเล่นของเล่นชิ้นนั้นให้เด็กดู ถ้าเขาเล่นไม่เป็นในระยะแรกๆ อาจต้องช่วยโดยจับมือให้เด็กเล่นตามต้นแบบที่ทำให้ดู แล้วค่อยๆ ลดการช่วยเหลือลงเป็นแค่แตะมือบางครั้ง บอกให้ทำตามคำสั่ง ใช้ภาษาท่าทางโดยไม่ใช้เสียง จนเด็กเล่นเป็นในที่สุด
เมื่อเด็กมีการเล่นที่พัฒนาขึ้น ควรให้คำชม หรือรางวัล เพื่อเป็นกำลังใจแก่เด็กที่จะพัฒนาการเล่นที่หลากหลายต่อไป เช่น ยิ้ม พยักหน้า โอบกอด ชมเชย หรือให้ขนม เป็นต้น
ถ้าเด็กมีพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมในการเล่น เช่น การทุบ ทำลาย ขว้างปาของเล่น ควรให้เด็กหยุดเล่นทันที แล้วนำเด็กมานั่งอยู่คนเดียวในมุมสงบ ประมาณ 2-3 นาที โดยไม่จำเป็นต้องดุว่า หรือตะโกนเสียงดังใส่เด็ก เมื่อสังเกตเห็นเด็กมีท่าทีสงบลง จึงค่อยให้เด็กเล่นใหม่ พร้อมทั้งเล่นให้ดูหรือเล่นด้วย และบอกให้เด็กรับรู้ว่าควรทำอย่างไรในขณะที่เล่นของเล่นนั้น
ในขณะเดียวกันควรฝึกวินัยไปควบคู่กันด้วย ควรสอนให้เด็กเล่นของเล่นทีละชิ้น เมื่อต้องการเปลี่ยนไปเล่นของเล่นชิ้นใหม่ ให้เอาของเล่นเดิมที่เล่นแล้ว ไปเก็บเสียก่อน
ความปลอดภัยในการเล่นก็เป็นสิ่งสำคัญที่มองข้ามไม่ได้เช่นกัน อุบัติเหตุเกิดขึ้นได้เสมอ ไม่ควรปล่อยให้เด็กเล่นตามลำพังโดยไม่มีใครดูแล ควรเฝ้าดูในระยะห่างที่พอเหมาะ และควรเข้าไปเล่นด้วยเป็นระยะ
การส่งเสริมการเล่นในเด็กออทิสติก ควรมีการกำหนดเป้าหมายในแต่ละขั้นให้ชัดเจน และเมื่อผ่านขั้นหนึ่งแล้วก็ส่งเสริมพัฒนาต่อไปอีกขั้น จนเด็กสามารถเล่นสมมติเป็น ในที่นี้ขอยกตัวอย่างการส่งเสริมการเล่น เพื่อเป็นแนวทางในการประยุกต์ใช้ต่อไป ดังนี้
ที่มาhttp://www.happyhomeclinic.com/au33-autistic-play-promotion.htm

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น