วันพุธที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2557

บันทึกการเรียนครั้งที่ 15 
วันจันทร์ที่ 1 ธันวาคม 2557 

วันนี้อาจารย์สรุปองค์ความรู้ที่ได้เรียนมาทั้งหมด พร้อมเเจกของรางวัลสำหรับเพื่อนๆที่ตั้งใจเรียนมีคะเเนนดี พร้อมประเมินความรู้สึกหลังเรียนสิ่งที่ชอบเเละไม่ชอบ 
สรุปองค์ความรู้จากที่ได้เรียนมา ดังนี้
เด็กที่มีความต้องการพิเศษ (Children with Special Needs) หมายถึง ผู้ที่มีความจำเป็นต้องได้รับความช่วยเหลือเนื่องด้วยการขาดความสามารถ (Disability) ไม่ว่าจะเป็นทางด้านร่างกาย จิตใจ หรือสติปัญญา ซึ่งในประเทศสหรัฐอเมริกา ความต้อง การพิเศษ (Special Needs) เป็นศัพท์ที่บัญญัติขึ้นเพื่อใช้ในการวินิจฉัยอาการทางคลินิก (Clinical diagnostic) และพัฒนาการทาง ด้านสมรรถภาพของร่ายกาย (Functional development) นอกจากนี้ ในประเทศอังกฤษ ความต้องการพิเศษมักเชื่อมโยงกับแวดวงการศึกษา โดยหมายถึงเด็กที่มีความต้องการพิเศษทางด้านการศึกษา (Special Educational Needs:SEN)
ประเภทของความต้องการพิเศษมีความหลากหลายและอาจแตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง โดยผู้ที่เป็นโรคออทิซึม (Autism) กลุ่มอาการดาวน์ (Down syndrome) ความบกพร่องในการอ่าน (Dyslexia) ความบกพร่องทางการมองเห็น (Blindness) โรคสมาธิสั้น (ADHD) โรคซีสติกไฟโบรซิส (Cystic Fibrosis) เหล่านี้ ล้วนได้รับการพิจารณาว่ามีความต้องการพิเศษ อย่างไรก็ตาม ลักษณะของความต้องการพิเศษก็อาจครอบคลุมถึงโรคปากแหว่งเพดานโหว่ (Cleft lips and cleft palate) ปานแดงแต่กำเนิด (Port wine birthmarks) และแขนหรือขาด้วน (missing limbs)
สาเหตุ
  • ปัจจัยที่เกิดขึ้นก่อนคลอด ระหว่างที่อยู่ในครรภ์ การกระทบกระเทือนต่อมดลูกของแม่ อาจส่งผลเสียหายต่อตัวทารกได้ หากแม่ติดเชื้อหรือได้รับเชื้อโรคใดๆ ลูกในครรภ์ย่อมได้รับผลกระทบด้วยเช่นกัน นอกจากนี้ แม่ที่เจ็บป่วยจากการขาดแคลนสารอาหารย่อมทำให้ลูกได้รับสารอาหารไม่เพียงพอ และส่งผลให้ลูกมีความบกพร่องทางร่างกาย จิตใจ หรือสติปัญญา
  • ปัจจัยที่เกิดขึ้นในระหว่างคลอด ในขั้นตอนของการคลอด มีหลายปัจจัยที่อาจก่อให้เกิดผลเสียต่อตัวเด็ก การคลอดที่เป็นไปอย่างยากลำบาก อาจทำให้เด็กขาดออกซิเจนไปเลี้ยงสมองชั่วคราว อันส่งผลให้เนื้อเยื่อประสาทของสมองและกระดูกสันหลังบางส่วนถูกทำลาย ซึ่งลักษณะดังกล่าวนี้จะติดตัวเด็กไปตลอดชีวิต โดยอาจทำให้เด็กมีความบกพร่องทางสติปัญญาและมีความพิการทางร่างกาย นอกจากนี้ หากแพทย์ใช้อุปกรณ์พิเศษเพื่อช่วยทำคลอด เช่น ใช้คีมในการดึงเด็กออกมา แต่ขาดทักษะหรือมีความผิดพลาดเกิดขึ้น สมองและประสาทของเด็กก็อาจถูกคีมกดและถูกทำให้เสียหายได้ ซึ่งความเสียหายที่เกิดขึ้นก็มักจะติดตัวเด็กไปตลอดชีวิต
  • ปัจจัยที่เกิดขึ้นหลังคลอด เด็กที่ไม่ได้รับการดูแลอย่างเหมาะสมหลังคลอด มีความเสี่ยงสูงต่อภาวะไร้ความสามารถ เช่น หากดวงตาของทารกไม่ได้รับการล้างด้วยสารละลายไนเตรต 1 เปอร์เซ็นต์ ก็อาจส่งผลให้เด็กสูญเสียการมองเห็นได้
  • การขาดสารอาหาร (Malnutrition) เด็กที่ไม่ได้รับสารอาหารเพียงพอ จะมีความอ่อนแอทางร่างกาย
    • การขาดแคลเซียมอาจนำไปสู่ลักษณะความผิดปกติของกระดูก
    • การขาดไอโอดีนอาจนำไปสู่การขาดฮอร์โมนไทรอกซินซึ่งมีความสำคัญต่อการเจริญเติบโตของร่างกาย
    • การขาดวิตามินเออาจนำไปสู่ความบกพร่องทางการมองเห็น
    • ขณะที่การขาดโปรตีนและสารอาหารที่ให้พลังงาน อาจนำไปสู่ความบกพร่องทั้งทางร่างกายและสติปัญญา
  • อุบัติเหตุ ซึ่งอาจรุนแรงสามารถเปลี่ยนเด็กปกติไปสู่เด็กพิการได้ เช่น อุบัติเหตุทางรถยนต์ อาจทำให้เด็กมีร่างกายพิ การ รวมถึงตาบอด หูหนวก และเป็นใบ้ได้ นอกจากนี้ การได้รับยาผิดประเภทก็อาจทำให้เด็กพิการตลอดชีวิตได้
  • พันธุกรรม เด็กมีโอกาสได้รับยีนของลักษณะพิการหรือบกพร่องจากพ่อแม่ โดยเด็กอาจมีลักษณะตาบอด หูหนวก เป็นใบ้ หรือมีความบกพร่องทางสติปัญญาตั้งแต่กำเนิด
  • การติดเชื้อ เมื่อเด็กติดเชื้อ ภูมิคุ้มกันของร่างกายจะลดลง ส่งผลให้เด็กมีความอ่อนแอต่อเชื้อโรคต่างๆ เช่น การติดเชื้อไวรัสคางทูม (Mumps) ซึ่งอาจส่งผลให้เด็กมีความบกพร่องทางการได้ยิน หรือเป็นโรคโปลิโอ
  • ความผิดปกติของต่อมไร้ท่อ (Endocrine glands) ความผิดปกติของต่อมไร้ท่อสามารถทำให้เกิดความผิดปกติทางร่าง กายและสติปัญญา เช่น หากต่อมไทรอยด์ (Thyroid) ของเด็กทำงานผิดปกติก็อาจก่อให้เกิดโรคเอ๋อหรือภาวะปัญญาอ่อนได้


พ่อแม่ ผู้ปกครองจะช่วยเหลือหรือแก้ไขปัญหาลูกที่มีความต้องการพิเศษได้อย่างไร?

หลังจากที่ลูกได้รับการวินิจฉัยว่ามีความต้องการพิเศษ พ่อแม่ ผู้ปกครองอาจมีความรู้สึกต่างๆนานา และอาจมีปฏิกิริยาต่อความจริงที่เกิดขึ้นในหลายรูปแบบ อาจมีผู้ปกครองบางคนที่รู้สึกโล่งใจ เมื่อได้ทราบถึงลักษณะความผิดปกติของลูก เพื่อที่จะได้ให้การดูแลได้อย่างเหมาะสม แต่โดยส่วนใหญ่แล้ว ผู้ปกครองมักแสดงออกถึงความเศร้า โกรธ สับสน หรือรู้สึกผิด จนกระ ทั่งถึงจุดที่ครอบครัวสามารถยอมรับความจริงได้ และเริ่มการวางแผนสำหรับอนาคต ทั้งนี้ ไม่ว่าพ่อแม่จะรู้สึกอย่างไรต่อสภาพความผิดปกติของลูก ทั้งหมดทั้งมวลนั้นล้วนแต่เป็นความรู้สึกปกติที่ย่อมเกิดขึ้นได้ ดังนั้น พ่อแม่ ผู้ปกครองจึงจำเป็นต้องให้เวลาแก่ตัวเองในการก้าวผ่านความรู้สึกเหล่านั้น พร้อมกับหาหนทางในการช่วยเหลือทั้งตนเองและลูกอย่างเร่งด่วน โดยยึดหลักตามข้อเสนอแนะต่อไปนี้

  • เข้ารับการกระตุ้นพัฒนาการ (Early Intervention) ทันทีหลังจากที่ลูกได้รับการวินิจฉัยว่ามีความพิการหรือมีความต้อง การพิเศษ ทั้งนี้เพื่อให้เด็กได้มีโอกาสรับการรักษาจากผู้เชี่ยวชาญหลากหลายสาขา ยิ่งพ่อแม่พาลูกเข้ารับบริการเร็วเท่าใดโอกาสที่เด็กจะสามารถมีพัฒนาการได้เทียบเท่ากับเด็กทั่วไปหรือใกล้เคียงกับเด็กทั่วไปย่อมมีมากขึ้นเท่านั้น นอกจากนี้ พ่อแม่ยังสามารถได้รับความรู้และคำแนะนำอันเป็นประโยชน์อย่างยิ่งต่อพัฒนาการของลูก ไม่ว่าจะเป็นในด้านการศึกษา หรือเทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวกที่เหมาะสมต่อลักษณะความบกพร่องของลูก
  • ศึกษาข้อมูลอันเกี่ยวข้องกับลักษณะความบกพร่องของลูกให้มากที่สุด ทั้งนี้เพราะยิ่งพ่อแม่รู้มาก ย่อมหมายถึงความพร้อมที่มากขึ้นตามไปด้วย อีกทั้งยังทำให้พ่อแม่มีหลักในการรับมือกับอนาคตอีกด้วย
  • เข้าร่วมกับกลุ่มช่วยเหลือเด็กที่มีความต้องการพิเศษ เพื่อแลกเปลี่ยนประสบการณ์และความช่วยเหลือซึ่งกันและกัน รวมถึงเป็นการทำให้พ่อแม่รู้สึกไม่โดดเดี่ยวและมีกำลังใจที่จะช่วยเหลือลูกมากยิ่งขึ้น
  • หมั่นสังเกต ให้ความสนใจ และสนับสนุนสิ่งที่ลูกทำได้ดี พร้อมทั้งตระหนักอยู่เสมอว่า ความบกพร่องของลูกไม่ได้กำหนดสิ่งที่ลูกเป็น แต่เป็นเพียงส่วนหนึ่งในชีวิตของลูก ไม่ต่างกันกับสีของตาหรือลักษณะเส้นผม
  • พาลูกเข้ารับการรักษาที่จำเป็นอย่างสม่ำเสมอและต่อเนื่อง ไม่ว่าจะเป็นกิจกรรมบำบัด (Occupational therapy) กาย ภาพบำบัด (Physical therapy) การแก้ไขการพูด (Speech therapy) หรือพฤติกรรมบำบัด (Behavioral therapy)
  • จดบันทึกเกี่ยวกับลูก เพราะผู้ปกครองคือผู้ใกล้ชิดกับลูกมากที่สุด และย่อมเป็นผู้ที่รู้จักลูกมากที่สุด การจดบันทึกของพ่อแม่ นอกจากจะทำให้เห็นพัฒนาการของลูกแล้ว ยังเป็นประโยชน์ต่อแพทย์ ผู้เชี่ยวชาญ รวมถึงครูที่จะต้องมีส่วนร่วมในการช่วยเหลือลูกด้วย
  • พูดคุยกับคนในครอบครัวถึงความรู้สึกของตัวพ่อแม่เอง รวมถึงเปิดโอกาสให้คนในครอบครัวพูดถึงความรู้สึกของตน เองอย่างเปิดเผยเช่นกัน พี่หรือน้องของลูกอาจมีความกังวลเกี่ยวกับความต้องการพิเศษของเด็กที่มีความบกพร่อง และอาจมีปัญหาในการอธิบายให้เพื่อนเข้าใจ ดังนั้น พ่อแม่จึงควรปรับความเข้าใจของคนในครอบครัวให้ตรงกัน
  • สร้างกิจวัตรที่เหมาะสมสำหรับครอบครัวที่เอื้อต่อลูกที่มีความต้องการพิเศษ
  • ส่งเสริมให้ลูกตัดสินใจด้วยตัวเอง (self-determination) เนื่องจากความสามารถในการตัดสินใจด้วยตัวเองถือเป็นคุณ สมบัติที่สำคัญสำหรับเด็กทุกคน โดยมีงานวิจัยระบุว่า เด็กที่มีความต้องการพิเศษที่มีความสามารถในการตัดสินใจสูง มีโอกาสที่จะเติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่ได้รับการจ้างงาน มีความพอใจในชีวิต และสามารถดำรงชีวิตอยู่ได้อย่างอิสระโดยไม่ต้องได้รับความช่วย เหลือจากครอบครัว ทั้งนี้ พ่อแม่สามารถช่วยพัฒนาความสามารถในการตัดสินใจของลูกได้ด้วยการเปิดโอกาสให้ลูกตัดสินใจด้วยตัวเองตั้งแต่ยังเล็ก เช่น อยากใส่ชุดไหน หรืออยากรับประทานอะไร เป็นต้น
  • ไม่ปกป้องลูกมากจนเกินไป พ่อแม่ควรส่งเสริมให้ลูกออกไปพบอะไรใหม่ๆ หรือออกไปเรียนรู้โลกภายนอกเมื่อมีโอกาส
  • สอนลูกให้แก้ปัญหา ไม่ใช่แก้ปัญหาให้ลูก โดยการให้ลูกเลือกวิธีการในการแก้ปัญหาด้วยตัวเอง เช่น หากลูกมีปัญหาที่โรงเรียน พ่อแม่ควรทำหน้าที่เป็นเพียงผู้รับฟัง และชักชวนให้ลูกคิดหาทางออกของปัญหาร่วมกัน หรืออาจเปิดโอกาสให้ลูกลองวางแผนการแก้ปัญหาด้วยตัวเองเมื่อลูกมีความพร้อม


    วันพฤหัสบดีที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

    บันทึกการเรียนครั้งที่ 14 
    วันอังคารที่ 24 พฤศจิกายน 2557 

    วันนี้อาจารย์สอนเนื้อหาเรื่อง เด็กสมาธิสั้น 
    สรุปองค์ความรู้ที่ได้ดังนี้ 
    ประเมินตนเอง
    -ตั้งใจเรียนเเละฟังอาจารย์อธิบายรายละเอียดของเนื้อหาในเรื่องเด้กสมาธิสั้นเพราะอาจารย์บอกว่าเนื้อหารายละเอียดนี้เป็นส่วนหนึ่งของข้อสอบปลายภาค
    -เน้นเนื้อหารายละเอียดสำคัญๆที่อาจารย์เจาะจง เเละมีการอธิบายเพิ่มเติม 

    ประเมินเพื่อนๆ
    -เพื่อนๆส่วนใหญ่ตั้งใหญ่เรียน เเละฟังเนื้อหารายละเอียดที่อาจารย์อธิบายเพิ่มเติม โดยบางคนอาจไม่ตั้งใจฟังเเต่ก็ตอบคำถามที่อาจารย์ได้ ถือว่าเพื่อนบางคนมีความตั้งใจฟังเเละทักษะการเรียนรู้อย่างเหมาะสม

    ประเมินอาจารย์ผู้สอน
    -อาจารย์อธิบายเนื้อหารายละเอียดเพิ่มเติมเเละยกตัวอย่างบางหัวข้อให้นักศึกษาเกิดความเข้าใจพร้อมยกตัวอย่างประกอบ เเละอธิบายรายละเอียดเพิ่มเติมในส่วนของข้อสอบ สิ่งสำคัญของข้อสอบที่อาจารย์จะออก เเละเน้นย้ำให้นักศึกษาเตรียมความพร้อมในการสอบให้ดี ตั้งใจทำให้เต็มที่ อ่านชีสเเละเนื้อหาให้เข้าใจ 






    วันศุกร์ที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

    บันทึกการเรียนครั้งที่ 13 
    วันอังคารที่ 18 พฤศจิกายน 2557 

    (งดการเรียนการสอนเนื่องจากจัดกิจกรรมในรายวิชาการจัดประสบการณ์นาฏศิลป์เเละเพลงสำหรับเด็กปฐมวัย) จึงได้มีการสรุปเเละบันทึกผลจากการจัดกิจกรรมเเทน เเละนำรุปภาพเเละความน่าประทับใจของกิจกรรมมาเพิ่มเติมลงใน Blogger ค่ะ

    สรุปผลจากกิจกรรม
    ภาพกิจกรรม 





















           สิ่งที่ประทับใจจากกิจกรรมนี้ ก็คือ เหมือนเพื่อนๆปี 3 ทุกคนร่วมกันทำงานทำที่ได้รับมอบหมายอย่างเต็มความสามารถเเละเต็มศักยภาพโดยไมมีอาจารย์คอยให้คำปรึกษาหรือเเนะนำ ทุกอย่างเหมือนมีความรู้สึกว่าทุกคนพึ่งตัวเอง ต่างคนก้ต่างทำหน้าที่ของตนเองให้ออกมาให้ดีที่สุดถึงเเม้งานที่ออกมาจะไม่โอเค เต็มร้อยก็เถอะ เเต่ทุกอย่างก็ผ่านพ้นไปได้ด้วยดีเเละทุกคนก็ภมูิใจที่ได้ทำหน้าที่ตรงนี้อย่างดีที่สุดค่ะ ต้องขอบคุณเพื่อนๆทุกกลุ่มเรียนที่ช่วยเหลือร่วมเเรงร่วมใจกัน อาจมีอุปสรรคหลายอย่างเข้ามาระหว่างการดำเนินงานเเต่พวกเราก็ผ่านมันมาได้ด้วยดีค่ะ 

                                         

    วันพฤหัสบดีที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

    บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 12 
    วันอังคารที่ 11 พฤศจิกายน 2557 
          
           การเรียนการสอนวันนี้ไม่เครียดนะค่ะ สบายๆ นักศึกษาเเละอาจารย์พูดคุยกันอย่างสนุกสนานก่อนเริ่มบทเรียนถือว่าเป็นการคลายเครียดก่อนเรียนค่ะ สำหรับวันนี้เรียนเรื่อง การส่งเสริมพัฒนาการเเละการปรับพฤติกรรมเด็กปฐมวัยที่มีความต้องการพิเศษ
    ประเมินตนเอง
    -ตั้งใจเรียน เเอบหลับบ้างนิดหน่อย เเต่ก็ตั้งใจฟังอาจารย์อธิบายเนื้อหาที่เรียน เเละสามารถนำมาสรุปลงเป็นมายเเม็บได้ เเต่งกายเรียบร้อยดีค่ะ เข้าเรียนตรงต่อเวลา

    ประเมินเพื่อนๆ
    -เพื่อนๆโดยรวมตั้งใจเรียนดี อาจจะพุดคุยระหว่างอาจารย์สอนบ้างเเต่เมื่ออาจารย์เตือนก็ยังมรความเกรงใจอาจารย์ผู้สอนอยู่ ซึ่งถือว่ามีความเกรงใจเเละให้เกียรติอาจารย์ เพื่อนๆบางคนก็มีส่วนร่วมในการเเสดงความคิดเห็นในเนื้อหาที่อาจารย์อธิบาย

    ประเมินอาจารย์ผู้สอน
    -อาจารย์มีความตั้งใจสอนในเนื้อหา เเละก็น่าสงสารอาจารย์ในเรื่องของเนื้อหาที่จะนำมาให้นักศึกษาประกอบการเรียนเนื่องจากทางคณะขาดเเคลนเเละไม่เอื้อต่อการถ่ายเอกสารเพื่อที่จะนำมาให้นักศึกษาได้ส่วนนี้ก็เห็นใจครูผู้สอน เพื่อนๆนักศึกษาเเละตัวดิฉันเองด้วยค่ะ 

    **เพิ่่มเติม
    แนวทางส่งเสริมการเล่นในเด็กออทิสติก
    ศูนย์วิชาการ แฮปปี้โฮม
      
     นพ.ทวีศักดิ์ สิริรัตน์เรขา
     จิตแพทย์เด็กและวัยรุ่น
       
    สิ่งสำคัญอย่างหนึ่งที่ช่วยส่งเสริมพัฒนาการเด็กออทิสติกได้เป็นอย่างดี คือ การส่งเสริมการเล่นให้เหมาะสมตามวัย ช่วยให้เด็กสามารถพัฒนาการเล่นจากขั้นที่หยุดชะงักได้
    เริ่มต้นด้วยการสร้างโอกาส ในการเล่นที่หลากหลาย ให้เด็กได้มีโอกาสเล่นของเล่นที่หลากหลาย หรือของเล่นเดิมในวิธีการเล่นที่แตกต่างจากเดิม โอกาสในการเล่นกับเด็กวัยเดียวกัน และเพื่อนเล่นที่หลากหลาย
    ในการเล่นกับเด็ก ต้องจำไว้เสมอว่า เรากำลังร่วมเล่นกับเขา เล่นไปด้วยกัน แนะนำได้ แต่ไม่ใช่เราไปสอนเขาเล่นอย่างที่เราต้องการเสมอไป ควรใช้การสัมผัสและน้ำเสียงที่นุ่มนวลร่วมด้วย
    โดยให้เด็กเล่นสิ่งของที่เขากำลังสนใจอยู่ในขณะนั้น เริ่มแนะนำวิธีการเล่นของเล่นชิ้นนั้นให้เด็กดู ถ้าเขาเล่นไม่เป็นในระยะแรกๆ อาจต้องช่วยโดยจับมือให้เด็กเล่นตามต้นแบบที่ทำให้ดู แล้วค่อยๆ ลดการช่วยเหลือลงเป็นแค่แตะมือบางครั้ง บอกให้ทำตามคำสั่ง ใช้ภาษาท่าทางโดยไม่ใช้เสียง จนเด็กเล่นเป็นในที่สุด
    เมื่อเด็กมีการเล่นที่พัฒนาขึ้น ควรให้คำชม หรือรางวัล เพื่อเป็นกำลังใจแก่เด็กที่จะพัฒนาการเล่นที่หลากหลายต่อไป เช่น ยิ้ม พยักหน้า โอบกอด ชมเชย หรือให้ขนม เป็นต้น
    ถ้าเด็กมีพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมในการเล่น เช่น การทุบ ทำลาย ขว้างปาของเล่น ควรให้เด็กหยุดเล่นทันที แล้วนำเด็กมานั่งอยู่คนเดียวในมุมสงบ ประมาณ 2-3 นาที โดยไม่จำเป็นต้องดุว่า หรือตะโกนเสียงดังใส่เด็ก เมื่อสังเกตเห็นเด็กมีท่าทีสงบลง จึงค่อยให้เด็กเล่นใหม่ พร้อมทั้งเล่นให้ดูหรือเล่นด้วย และบอกให้เด็กรับรู้ว่าควรทำอย่างไรในขณะที่เล่นของเล่นนั้น
    ในขณะเดียวกันควรฝึกวินัยไปควบคู่กันด้วย ควรสอนให้เด็กเล่นของเล่นทีละชิ้น เมื่อต้องการเปลี่ยนไปเล่นของเล่นชิ้นใหม่ ให้เอาของเล่นเดิมที่เล่นแล้ว ไปเก็บเสียก่อน
    ความปลอดภัยในการเล่นก็เป็นสิ่งสำคัญที่มองข้ามไม่ได้เช่นกัน อุบัติเหตุเกิดขึ้นได้เสมอ ไม่ควรปล่อยให้เด็กเล่นตามลำพังโดยไม่มีใครดูแล ควรเฝ้าดูในระยะห่างที่พอเหมาะ และควรเข้าไปเล่นด้วยเป็นระยะ
    การส่งเสริมการเล่นในเด็กออทิสติก ควรมีการกำหนดเป้าหมายในแต่ละขั้นให้ชัดเจน และเมื่อผ่านขั้นหนึ่งแล้วก็ส่งเสริมพัฒนาต่อไปอีกขั้น จนเด็กสามารถเล่นสมมติเป็น ในที่นี้ขอยกตัวอย่างการส่งเสริมการเล่น เพื่อเป็นแนวทางในการประยุกต์ใช้ต่อไป ดังนี้
    ที่มาhttp://www.happyhomeclinic.com/au33-autistic-play-promotion.htm

    วันพุธที่ 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

    บันทึกการเรียนครั้งที่ 11 
    วันอังคารที่ 4 พฤศจิกายน 2557

          การเรียนการสอนในวันนี้คืออาจารย์เฉลยข้อสอบกลางภาคที่ได้สอบไปสัปดาห์ที่แล้วและประกาศผลคะแนนสอบ ซึ่งในวินาทีนั้นเพื่อนๆทุกคนรวมถึงตัวดิฉันเองก็ตื่นเต้นและลุ้นระทึกกับผลคะแนน ซึ่งผลคะแนนที่ออกมานั้นก้ถือว่าเป้นที่น้่าพอใจของอาจารย์และทุกคน  ดิฉันได้คะแนน 42 คะแนนจากคะแนนเต็ม 60 คะแนน ในความคิดเห็นดิฉันมีความพึงพอใจและยินดีกับคะแนนที่ได้เพราะได้อ่านหนังสือมาพอสมควร

    เกร็ดความรู้เพิ่มเติมค่ะ
    ครูจะมีบทบาทในการช่วยเหลือหรือแก้ไขปัญหาเด็กที่มีความต้องการพิเศษที่โรงเรียนได้ ดังนี้

    • เข้าใจธรรมชาติของเด็กแต่ละคน เนื่องจากวิธีการที่ได้ผลในเด็กคนหนึ่งอาจไม่ได้ผลในเด็กอีกคนหนึ่ง ดังนั้น ครูจึงควรรู้จักปรับวิธีการสอนให้เหมาะสมกับความต้องการและวิธีการเรียนรู้ที่ต่างกันของเด็กแต่ละคน
    • ร่วมมือกับผู้ปกครอง โดยยึดหลักการปฏิบัติต่อเด็กในแนวทางเดียวกับผู้ปกครอง เนื่องจากผู้ปกครองถือเป็นผู้เชี่ยว ชาญสูงสุดสำหรับลูกของตนเอง
    • ส่งเสริมพฤติกรรมที่ดี เช่น หากเด็กผลักกันในแถว ครูควรชมเด็กที่นิ่งเงียบและไม่ตอบโต้ นอกจากจะเป็นการปลูกฝังนิสัยที่ดีให้กับเด็กแล้ว ยังเป็นการสร้างเสริมความปลอดภัยให้กับเด็กอีกด้วย
    • สนับสนุนสิ่งที่ดีต่อความรู้สึกของเด็ก เช่น หากเห็นว่าเด็กมีความสุขกับการได้ทำสิ่งใดสิ่งหนึ่งก็ควรสนับสนุนให้เด็กทำสิ่งนั้น โดยอาจยืดเวลาให้เด็กได้ทำต่อไปแม้จะเข้าสู่เวลาเรียนแล้ว หรืออาจให้เด็กทั้งห้องได้ร่วมทำในสิ่งเดียวกันเพื่อเป็นการยืดเวลาให้เด็กไปในตัว
    • ทำกฎให้ง่ายและยืดหยุ่น สำหรับเด็กที่มีความต้องการพิเศษ ครูควรช่วยเหลือให้เด็กสามารถปฏิบัติตามกฎได้ดียิ่งขึ้น หากกฎดังกล่าวยากเกินไปสำหรับเด็กที่จะปฏิบัติตาม
    • ไม่ลดละ กล่าวคือ หากเด็กประพฤติตัวไม่เหมาะสม ครูควรพยายามหาหนทางในการแก้ไขพฤติกรรมเด็กให้จงได้ ทั้ง นี้เพราะการเรียนรู้พฤติกรรมที่เหมาะสมนั้นมีความสำคัญสำหรับเด็กทุกคน และถือเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับเด็กที่มีความต้องการพิเศษเช่นกัน
    • หมั่นติดต่อกับผู้ปกครอง โดยอาจเขียนบันทึกพฤติกรรมของเด็กให้ผู้ปกครอง ติดต่อผ่านอีเมล์หรือโทรศัพท์ เพื่อให้ผู้ปกครองรับทราบสภาพของเด็กที่โรงเรียน และทำให้การช่วยเหลือเด็กเป็นไปอย่างต่อเนื่องระหว่างบ้านและโรงเรียน
    • ที่มาจากข้อมูลhttp://taamkru.com/th/%E0%B9%80%E0%B8%94%E0%B9%87%E0%B8%81%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B8%A1%E0%B8%B5%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%95%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%9E%E0%B8%B4%E0%B9%80%E0%B8%A8%E0%B8%A9/#article106

    • ประเมินตนเองหลังการเรียน
    • - มีความพึงพอใจและประทับใจกับคะแนนสอบที่ได้ ที่มาจากการอ่านหนังสือและการทำความเข้าใจก่อนสอบในคาบนี้เข้าเรียนตรงเวลาแต่งกายถูกระเบียบฟังอาจารย์เฉลยข้อสอบแล้วร่วมตอบคำถามจากข้อสอบที่อาจารย์เฉลย
    • ประเมินเพื่อน
    •  - เพื่อนๆส่วนใหญ่ทำคะแนนสอบได้ดีเป็นที่น่าพอใจซึ่ง Top ของห้องในการทำข้องสอบที่ได้คะแนนเยอะที่สุด คือ นางสาว ิชนิดา บุญนาโค ได้คะแนน 52 คะแนน มีเพื่อนส่วนน้อยที่ตกได้คะแนนไม่ถึงครึ่งก็อยากให้เพื่อนๆตั้งใจเรียนและอ่านหนังสือให้มาก
    • ประเมินอาจารย์ผุ้สอน
    • - อาจารย์เฉลยข้อสอบเพื่อให้นักศึกษาทุกคนทบทวนข้อสอบที่ได้สอบไปบางข้ออาจารย์ก็อธิบายคำตอบอย่างละเอียดและยกตัวอย่างเพื่อให้นักศึกษาบางคนเข้าใจง่ายขึ้นการสอบครั้งนี้อาจารย์ออกข้อสอบได้ดีมีทั้งง่ายและยากถือเป้นการประเมินความรู้ และความเข้าใจของแต่ละคนจากการเรียน


    วันพุธที่ 29 ตุลาคม พ.ศ. 2557

    บันทึกการเรียนครั้งที 10
    วันอังคารที่ 27 ตุลาคม  2557

           กิจกรรมในวันนี้ไม่มีการเรียนสอนแต่เป็นการสอบกลางภาคลักษณะเนื้อหาของข้อสอบในวันนี้เป้นเนื้อหาสาระที่ได้เรียนมาตั้งแต่ต้นเทอมจนถึงปัจจุบันในเรื่องของเด็กพิเศษ ซึ่งในข้อสอบนั้นจะมีส่วนของภาษาอังกฤษที่มีความหมายเกี่ยวข้องกับเด็กพิเศษจนกระทั่งชื่อของรายวิชาที่เรียน  ดิฉันคิดว่ามันเป็นข้อสอบที่ครอบคลุมดีเป็นการทดสอบความรู้ความเข้าใจ และ ความจำของตัวเราในขณะที่เรียนรู้มา

    เพิ่มเติม
    ขอให้ผลการสอบของเพื่อนๆทุกคนเป็นที่น่าพอใจของครูผุ้สอนและตัวเอง

    วันอังคารที่ 28 ตุลาคม พ.ศ. 2557

    บันทึกการเรียนครั้งที่ 9 
    วันจันทร์ที่ 20 ตุลาคม 2557

    ประเภทของเด็กพิเศษ (ต่อ)